วันที่ 1 เมษายน 2566 สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการประชุมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยมี.-

          พันตำรวจเอก ประเสริฐ ธรรมชัย ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ เป็นประธานการประชุมฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้ง  คำสั่งแต่งตั้งคณะขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ตามคำสั่งสถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ที่ 166/2566 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566   และทำความเข้าใจวางแผนการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่.-

1. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)

    ►ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดทุกนาย ได้ทำความเข้าใจในข้อคำถามและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นข้อคำถาม ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในซึ่งก็คือข้าราชการตำรวจในสังกัดได้รับรู้รับทราบ ก่อนทำการประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

    ►มอบหมายให้ฝ่ายอำนวยการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ตามหัวข้อให้ข้าราชการตำรวจทราบ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการตามประเด็นการประเมิน พร้อมทั้งมีการสื่อสารในช่องทางการติดต่อสื่อสารของสถานี เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ก เว็บไซต์ อย่างต่อเนื่อง

    ►ในการประชุมได้มีการมอบหมายให้หัวหน้าแต่ละแผนกงาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน(IIT) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในแผนกได้ทำความเข้าใจและสามารถทำแบบประเมินได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

2. แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)

    ►ให้สถานีตำรวจประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจ ให้แก่ประชาชนผู้มาใช้บริการประจำจุดประชาสัมพันธ์ และบุคคลภายนอกทั่วไปที่เคยมาใช้บริการที่สถานีตำรวจ ให้คำแนะนำและขอความร่วมมือในการทำแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้  ส่วนเสียภายนอก(EIT)

    ►จัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ณ จุดประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ขั้นตอน คู่มือการปฏิบัติงาน

    ►มอบหมายให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ข้อมูลผลการดำเนินงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานีตำรวจดำเนินการร่วมกับประชาชนชน ชุมชน ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ ผ่าน Website และ Facebook ของสถานีตำรวจ

    ►มอบหมายให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยแพร่ QR Code หรือ URL ช่องทางการเข้าตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) ทาง Website และ Facebook ของสถานีตำรวจ

    ►ให้แต่ละแผนกงานจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ QR Code หรือ URL ช่องทางการเข้าตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) ติดตั้งไว้ในแต่ลแผนกงานของสถานีตำรวจ

3) การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)

    ►ให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศสถานีตำรวจ ศึกษา และจัดทำประเด็นแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ผ่านหน้าเว็บไซต์หลักของสถานีตำรวจ ทั้งนี้โดยให้ พันตำรวจโท ทวีศักดิ์ จันทร์เรือง สารวัตรอำนวยการฯ เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาข้อขัดข้องประการใดรายงานให้ผู้กำกับการสถานีตำรวจฯ ทราบโดยทันที